ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลประวัติความเป็นมาของอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
ประวัติความเป็นมาของอำเภอบ้านบึง
การตั้งถิ่นฐาน ลักษณะพื้นที่อำเภอบ้านบึง โดยทั่วไปเป็นป่าทึบ
นานาพรรณ มีต้นไม้ต่างๆ และสัตว์ป่านานาชนิดได้อาศัย มีชุมชนที่เป็นหมู่บ้าน ตั้งเรียงรายกันเป็นระยะๆ ห่างไกลกันพอสมควร และมีอาชีพทางการเกษตรกรรม เช่น ปลูกพืชไร่ จับสัตว์ป่ายังชีพกันไปวันๆ พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านบึง
ในปัจจุบัน เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง โดยทั่วไปมีชาวบ้านเรียกกันว่า “มาบ” เป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ชุมชนดังเดิมได้ใช้สอยมาตลอด และสายน้ำไหลมาจากภูเขานั้น
ก็ได้ไหลไปยังอำเภอพานทองอีกสายหนึ่ง
แหล่งถิ่นฐานชุมชนดั้งเดิม คือ บริเวณหน้าลำมาบนั่นเอง คือ บริเวณตั้งแต่หน้าวัดบุญญฤทธยาราม มาจนถึงบริเวณวัดบึงบวรสถิตย์ และเริ่มมี
ตลาดบึงเป็นแหล่งชุมชน ในปี พ.ศ.2462 อำเภอบ้านบึงได้รับการยกฐานะเป็น
กิ่งอำเภอบ้านบึง ในปี พ.ศ. 2464 และในปี พ.ศ. 2481 นายอำนาจ เนื่องจำนงค์ คหบดีสมัยนั้นได้เป็นผู้นำในการยกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็นอำเภอ โดยเสนอต่อทางการว่า ขอยกที่ดินของนางเทศ กาญจนพังคะ ซึ่งเป็นมารดาของภรรยา เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอและสถานที่ราชการต่างๆ พร้อมกันสร้างที่ว่าการอำเภอ
ให้อีก 1 หลัง โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของกระทรวงมหาดไทย
ที่ว่าการอำเภอบ้านบึง สมัยนั้นเป็นเรือนไม้ทรงปั้นหยามุขกลางมี
บันไดขึ้นทั้ง 2 ข้าง เริ่มก่อสร้างและเสร็จ พ.ศ.2481 และใช้ในราชการตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2528 ต่อมาปี พ.ศ. 2529 นายอารยะ วิวัฒน์วานิช ดำรงตำแหน่งนายอำเภอบ้านบึง ได้เชิญชวนคหบดี และชาวอำเภอบ้านบึง ช่วยกันสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ เริ่มก่อสร้างในวันที่ 5 มิถุนายน 2531 และแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2531 เป็นที่ว่าการอำเภอหลังเดียวในประเทศไทยที่มีแบบแปลนพิเศษ
ต่างจากที่อื่น มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น ขนาด 19 x 34 x 17 เมตร
การอพยพคนมาตั้งรกรากนั้น เกิดจากการนำอุตสาหกรรมป่าไม้
ที่อำเภอศรีราชา โดยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) จึงมีการทำป่าไม้ หักล้าง ถางพงเต็มพื้นที่ ผู้คนจึงอพยพมาไม่ขาดสายเพื่อมาแผ้วถางป่า ทำไร่อ้อย และตัดไม้ส่งเป็นอุตสาหกรรม สามารถกำหนดเป็น 2 เชื้อสาย คือ
1. เชื้อสายชาวจีน
เดินทางมาจากชลบุรี และมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่
มาจากเมืองโผ๊วเล้ง จังหวัดกวนจัว มณฑลแต้จิ๋ว
2. เชื้อสายชาวลาว
มาจากบ้านเชิดใหญ่ ท่าศาลา อำเภอพนัสนิคม ตั้งรกรากบริเวณชุมชนย่อยเชิดน้อย และมาจากเวียงจันทน์ตั้งรกรากบริเวณวัดสำนักบก และบริเวณชุมชนหนองโคลน อำเภอบ้านบึง
สภาพทั่วไป
ตำแหน่งที่ตั้ง
อำเภอบ้านบึงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดชลบุรี ห่างจาก
ศาลากลางจังหวัด 14 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี – แกลง)
ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 50-65 กิโลเมตร (ไม่มีโอกาสน้ำท่วม)
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพานทองและอำเภอพนัสนิคม
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหนองใหญ่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพนัสนิคม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองและอำเภอศรีราชา
สภาพพื้นที่
อำเภอบ้านบึงมีเนื้อที่ประมาณ 646.334 ตารางกิโลเมตร
(403,958.75 ไร่) ส่วนใหญ่เป็นที่ราบมีแนวเทือกเขาเขียว เขาชมพู่ ด้านทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอศรีราชา ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน จะมีเฉพาะห้วย หนอง คลอง บึงประชากร
อำเภอบ้านบึงมีประชากรรวมทั้งสิ้น 94,266 คน เป็นชาย 46,660 คน หญิง 47,606 คน ประชากรแยกรายพื้นที่ ดังนี้
1. เทศบาลเมืองบ้านบึง มีประชากรรวม 15,979 คน แยกเป็นชาย 7,575 คน หญิง 8,404 คน
2. เทศบาลตำบลหัวกุญแจ มีประชากรรวม 4,015 คน แยกเป็นชาย 1,929 คน หญิง 2,086 คน
3. เทศบาลตำบลหนองไผ่แก้ว มีประชากรรวม 2,032 คน แยกเป็นชาย 991 คน หญิง 1,041 คน
4. เทศบาลตำบลหนองชาก มีประชากรรวม 9,439 คนแยกเป็นชาย 4,693 คน หญิง 4,746 คน
(โดยได้รับการฐานะเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2550)
5. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง มีประชากรรวม 8,095 คน แยกเป็นชาย 4,002 คน หญิง 4,093 คน
6. องค์การบริหารส่วนตำบลคลองกิ่ว มีประชากรรวม 15,030 คน แยกเป็นชาย 7,474 คน หญิง 7,556 คน
7. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่แก้ว มีประชากรรวม 7,430 คน แยกเป็นชาย 3,851 คน หญิง 3,579 คน
8. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ มีประชากรรวม 16,267 คน แยกเป็นชาย 8,218 คน หญิง 8,049 คน
9. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบอนแดง มีประชากรรวม 5,533 คน แยกเป็นชาย 2,766 คน หญิง 2,767 คน
10. องค์การบริหารส่วนตำบลมาบไผ่ มีประชากรรวม 5,023 คน แยกเป็นชาย 2,499 คน หญิง 2,524 คน
11. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองซ้ำซาก มีประชากรรวม 5,423 คน แยกเป็นชาย 2,662 คน หญิง 2,761 คน
อาชีพ
ประชากรอำเภอบ้านบึง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ซึ่งอำเภอบ้านบึงมีพื้นที่การเกษตรประมาณ 8,079.175 ไร่ คิดเป็น
ร้อยละ 2 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนใหญ่ทำการเกษตร เช่น ทำนา ทำไร่อ้อย มันสำปะหลัง สัปปะรด ทำสวนมะพร้าว ในส่วนของอุตสาหกรรม อำเภอบ้านบึง
มีโรงงานอุตสาหกรรม 192 แห่ง ซึ่งรายได้ของประชากรโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 30,131 บาท/คน/ปี
การปกครอง
อำเภอบ้านบึงแบ่งเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นออกเป็น เทศบาล
4 แห่ง รวม 46 ชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล 7 แห่ง รวม 52 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
1. เทศบาลเมืองบ้านบึง 37 ชุมชน
2. เทศบาลตำบลหนองไผ่แก้ว 3 ชุมชน
3. เทศบาลตำบลหัวกุญแจ 6 ชุมชน
4. เทศบาลตำบลหนองชาก 4 หมู่บ้าน
5. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบึง 5 หมู่บ้าน
6. องค์การบริหารส่วนตำบลคลองกิ่ว 9 หมู่บ้าน
7. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่แก้ว 5 หมู่บ้าน
8. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอิรุณ 12 หมู่บ้าน
9. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบอนแดง 6 หมู่บ้าน
10. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองซ้ำซาก 5 หมู่บ้าน
11. องค์การบริหารส่วนตำบลมาบไผ่ 6 หมู่บ้าน
โครงสร้างพื้นฐานของอำเภอบ้านบึงในปัจจุบัน
ด้านการศึกษา
ปัจจุบันอำเภอบ้านบึง จัดการศึกษาเป็น 2 ระยะ
1. การศึกษาในระบบโรงเรียน มี 39 แห่ง ครู/อาจารย์ 725 คน
- โรงเรียนระดับประถมศึกษา 34 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 4 แห่ง
- โรงเรียนอาชีวศึกษา 1 แห่ง
2. การศึกษานอกระบบโรงเรียน มี 34 แห่ง แยกได้ดังนี้
- ศูนย์สอนเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด 6 แห่ง
- ห้องสมุดประชาชนประจำอำเภอ 1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 27 แห่ง
การคมนาคม
อำเภอบ้านบึง มีเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอ จังหวัด และภายในหมู่บ้าน ดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดิน 8 สาย ได้แก่ 331 , 344 , 3127 , 3134 ล , 3345 , 3401 , 3289 และ 3133
- เส้นทางภายในหมู่บ้าน 173 สาย
ด้านสาธารณสุข
1. โรงพยาบาล ขนาด 60 เตียง 1 แห่ง ได้แก่
- โรงพยาบาลบ้านบึง
2. สถานีอนามัย 14 แห่ง ได้แก่
- สถานีอนามัยตำบลหนองซ้ำซาก ต.หนองซ้ำซาก
- สถานีอนามัยตำบลมาบไผ่ ต.มาบไผ่
- สถานีอนามัยหนองบอนแดง ต.หนองบอนแดง
- สถานีอนามัยบ้านหนองยาง ต.หนองบอนแดง
- สถานีอนามัยบ้านหนองเขิน ต.หนองชาก
- สถานีอนามัยป่ายุบ ต.หนองไผ่แก้ว
- สถานีอนามัยหนองไผ่แก้ว ต.หนองไผ่แก้ว
- สถานีอนามัยบ้านหนองชัน ต.หนองอิรุณ
- สถานีอนามัยบ้านเนินโมก ต.หนองอิรุณ
- สถานีอนามัยบ้านป่าแดง ต.หนองอิรุณ
- สถานีอนามัยอ่างเวียน ต.หนองอิรุณ
- สถานีอนามัยหัวกุญแจ ต.คลองกิ่ว
- สถานีอนามัยมาบลำบิด ต.คลองกิ่ว
- สถานีอนามัยบ้านหมื่นจิตร ต.คลองกิ่ว
3. คลีนิกแพทย์ทั้งหมด 20 แห่ง
ด้านการไฟฟ้า
อำเภอบ้านบึงมีสำนักงานการไฟฟ้า 1 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านมาบกรูด ตำบลบ้านบึง
ด้านโทรศัพท์
อำเภอบ้านบึงมีสำนักงานองค์การโทรศัพท์ 1 แห่ง มีชุมสายโทรศัพท์
2 ชุมสาย มีหมายเลขโทรศัพท์ทั้งสิ้น 4,800 เลขหมาย โทรศัพท์สาธารณะ 370 แห่ง
ด้านการพาณิชย์
อำเภอบ้านบึง มีธนาคารพาณิชย์ ธนาคารของรัฐ สถานีบริการ และ
การสหกรณ์ แยกได้ดังนี้
- ธนาคารพาณิชย์ 7 แห่ง
- ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 25 แห่ง
- สหกรณ์กลุ่มการเกษตรร้านค้า 7 แห่ง
ด้านการปศุสัตว์
อำเภอบ้านบึงมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ประมาณ 2,025 คน
สัตว์ที่เลี้ยง แยกได้ดังนี้
- โคนม 1,900 ตัว
- โคเนื้อ 600 ตัว
- กระบือ 1,350 ตัว
- สุกร 80,000 ตัว
- เป็ด , ไก่ 11,017,251 ตัว
นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรได้รวมตัวกันเป็นสหกรณ์ เช่น สหกรณ์โคนมบ้านบึง จำกัด สหกรณ์การเกษตรบ้านบึง ชมรมผู้เลี้ยงสุกร
ด้านการประปา
อำเภอบ้านบึง มีสำนักงานประปาส่วนภูมิภาค 1 แห่ง ซึ่งสามารถ
จ่ายน้ำให้ผู้ใช้ 180 ม3/ซม. นอกจากนี้ยังมี ประปาชนบท 21 แห่ง
สถานที่สำคัญและการท่องเที่ยว
สถานที่สำคัญทางด้านศาสนา ได้แก่
- วัดบุญญฤทธยาราม (วัดบึงบน) เป็นวัดสังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านบึง ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 บ้านบึง – แกลง มีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ อยู่ห่างจากจังหวัดชลบุรี 14 กิโลเมตร เดิมมีชื่อตามชาวบ้านเรียกว่า
“วัดบึงคงคาลัย” และเหตุว่าวัดนี้ ตั้งอยู่ริมห้วย ส่วนหลักฐานในกรมศาสนาได้บันทึกไว้มีชื่อว่า “วัดบึงใน” ซึ่งเป็นวัดที่เคารพสักการะของชาวบ้านมาตั้งแต่ก่อนเป็นอำเภอบ้านบึง และเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของอำเภอบ้านบึง
- วัดบึงบวรสถิตย์ (วัดบึงล่าง) เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายเป็นอารามราษฎร์ ตั้งอยู่ ถนนเทศประสาท อำเภอบ้านบึง มีเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่
มีพระพุทธไตรโลกนาถ เป็นพระพุทธรูปปางลีลา ประดิษฐานอยู่บนแท่นหินอ่อน หล่อด้วยโลหะรมดำ ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัด วัดนี้ตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2434
โดยมีพระภิกษุรูปหนึ่ง เดินทางจากวัดคงคาลัย (วัดบึงบน) ชื่อพระอาจารย์เขียว
ได้มาแผ้วถางที่วัดตรงปัจจุบัน ซึ่งเป็นป่าไม้ไร่ ป่าไผ่ ตั้งเป็นวัดขึ้น ชาวบ้านโดยทั่วไปในครั้งนั้น เรียกวัดนี้ว่า “ วัดไร่บ้านบึง ” ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่รองจาก
วัดบุญญฤทธยาราม
อำเภอบ้านบึงยังมีวัดซึ่งตั้งอยู่ตามตำบลต่าง ๆ อีก 32 แห่งและสำนักสงฆ์ 1 แห่ง ที่สำคัญมี
- วัดเขาถ้ำ ตั้งอยู่ตำบลหนองอิรุณ มีพระธาตุจุฬามณี ซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
- วัดหาดทรายขาว (วัดป่าธรรมชาติ) ตั้งอยู่ตำบลคลองกิ่ว
- วัดเนื่องจำนงค์ ตั้งอยู่ตำบลหนองชาก
การท่องเที่ยว
อำเภอบ้านบึงมีโรงแรม 2 แห่ง
1. ชื่อโรงแรมชัยเจริญ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านบึง มีจำนวนห้องพักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ประมาณ 15 ห้อง
2. ชื่อรงแรมคีรีมายารีสอร์ท อยู่ระหว่างขอเปิดดำเนินการ จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านบึง ห้องพักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ประมาณ 18 ห้อง
มีภัตตาคาร ร้านอาหาร และสถานบันเทิง รวม 32 แห่ง
มีสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ 1 แห่ง คือ น้ำตกอ่างช้างน้ำ
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านบึง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อำเภอบ้านบึงมีพื้นที่ป่าไม้ ตามกฎหมาย 5 แห่ง ดังนี้
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาเขียว มีเนื้อที่ 26,875 ไร่
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าหินดาดและป่าเขาไผ่ มีเนื้อที่ 2,125 ไร่
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาเรือแตก มีเนื้อที่ 1,500 ไร่
- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาชมพู่ มีเนื้อที่ 11,250 ไร่
- ป่าไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ป่ากะป่อม มีเนื้อที่ 50 ไร่
มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติและสร้างขึ้น ดังนี้
- อ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง
- สระน้ำ 32 แห่ง
- ฝาย 13 แห่ง
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม
อำเภอบ้านบึง มีสภาพส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีแนวเทือกเขา แต่ก่อนเหมือนเป็นเมืองปิด มีแต่อุตสาหกรรมน้ำตาลเป็นหลัก การเดินทางมีถนนเชื่อมชลบุรีเพียงสายเดียว มีถนน 331 ที่กองทัพทหารอเมริกันมาสร้างสนามบินอู่ตะเภา และได้ตัดถนนเชื่อมภาคอีสาน ถึงจังหวัดนครราชสีมา ถนนสายนี้ได้เป็นเส้นทางหลักเชื่อมกับถนนชนบทของชาวอำเภอบ้านบึง หลายสิบสาย สร้างความสะดวกสบายโดยเฉพาะการเดินทางสู่ภาคอีสาน ตลอดจนการขนส่งพืชผลการเกษตร การสัญจรทั่วไป
เมื่อครั้งเกิดคณะปฏิรูปการปกครอง ซึ่งนำโดย พล.รอ.สงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครอง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายเร่งด่วนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 คือ
- ตัดถนนบ้านบึง-แกลง (344) เชื่อมจังหวัดชลบุรี เพื่อลดระยะการเดินทางไปจันทบุรี ได้ถึง 100 กิโลเมตร ทำให้การขนส่งพืชผลสะดวกรวดเร็ว ประหยัดน้ำมัน และเวลา
- ตัดถนนบ้านบึง - บ้านค่าย เพื่อรองรับการวางท่อก๊าซธรรมชาติที่ขึ้นจากอ่าวไทยขนาบตามถนน และขยายถนนชลบุรี – บ้านบึง เป็นถนนคอนกรีตเชื่อมถนนสุขุมวิทกับถนนบางนา - ตราด
ต่อมาเมื่อถนนทุกสายสร้างเสร็จ บ้านบึงจึงกลายเป็นเมืองเปิดก่อให้เกิดธุรกิจอีกมากมายตามมา มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากจนระบบสาธารณูปโภครองรับไม่ทัน โดยเฉพาะขาดแคลนแหล่งน้ำขนาดใหญ่มารองรับอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นมากมาย
ความสงบเรียบร้อย
อำเภอบ้านบึงเป็นเมืองที่มีประชากรส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีประชากรจากต่างจังหวัดเข้ามาทำงานจำนวนมาก
และบ้านเรือนของชาวบ้านก็อยู่ห่างไกล ซึ่งเป็นชุมชนเล็กบ้างใหญ่บ้าง จะมีหนาแน่นก็เพียงแค่ที่เป็นเทศบาล และในภาวะปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง แม้จะก็ให้เกิดความก้าวหน้าแต่ก็มีผลกระทบทำให้เกิดปัญหาสังคมในด้านต่างๆ ตามมาหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญสำหรับประชาชนในการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม และมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น อำเภอบ้านบึงจึงมีนโยบายให้มีอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนขึ้น
(อปพร.) จัดตั้งเป็นรุ่นแรก เมื่อปี พ.ศ. 2535 ปัจจุบันมี 5 รุ่น มีสมาชิกทั้งหมด 531 คน อปพร. สามารถให้ความช่วยเหลือในทุกด้าน แล้วแต่การร้องขอของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งออกตรวจตราตามหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อให้มีความสงบเรียบร้อย และต่อมาอำเภอบ้านบึงได้มีการอบรมอาสาป้องกันและปราบปรามยาเสพติดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยมีจำนวนผู้อาสา 1,140 คน เพื่อทำหน้าที่สอดส่องดูแลและให้ความร่วมมือในการแจ้งข่าวเกี่ยวกับยาเสพติดให้กับตำรวจและอำเภอต่อมาอำเภอบ้านบึง ได้มีสายตรวจชุมชนตำบล (ตชต.) เกิดขึ้นโดยเป็นนโยบายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการทำให้ตำรวจเป็นที่พึ่งของประชาชน โดยให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และการจราจร โดยกำหนดให้มี ตชต.อยู่ทุกตำบล และร่วมออกตรวจตราร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นหัวหน้าชุด ซึ่งในการปฏิบัติงานดังกล่าวไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น สายตรวจชุมชนตำบล (ตชต.) เริ่มมีในปี 2547 มีจำนวนสมาชิก 480 คน
วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อ
อำเภอบ้านบึง มีวัฒนธรรมและประเพณีสำคัญ คือ
- ประเพณีวิ่งควาย เริ่มจัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี
ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเพณีที่มีอยู่แห่งเดียวในโลก ประเพณีวิ่งควายเกิดขึ้นจากความเชื่อว่า ถ้ามีควายเกิดเจ็บป่วย หรือตายลง “ เนื่องจากห่ากินควาย ” ชาวบ้านเจ้าของควายก็ต้องบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อถือให้ดูแลสุขภาพของควาย ซึ่งเป็นสัตว์คู่ทุกข์ คู่ยาก ให้แข็งแรงปลอดภัย
- ประเพณีกินเจ เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ประชาชนเขตอำเภอบ้านบึง ส่วนใหญ่มากกว่า 80 % ที่มีเชื้อสายจีน แต่ก่อนยังเดินทางไปกินเจที่โรงเจใหญ่ จังหวัดชลบุรี ต่อมาการเดินทางไม่สะดวก จึงเริ่มประเพณีกินเจที่อำเภอบ้านบึงจัดในเดือนตุลาคม เป็นเวลา 10 วัน หรือมากกว่า
- ประเพณีบุญบ้านบึง ซึ่งจัดในช่วงวันสงกรานต์ วันที่ 17 – 19 เมษายน ของทุกปี อำเภอบ้านบึงยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ ซึ่งเป็นที่สักการะกราบไหว้ของชาวจีนที่สำคัญที่อยู่ในอำเภอบ้านบึง คือ ศาลเจ้าเซียนซือไท้ นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าใหญ่น้อยอีกหลายแห่ง ได้แก่ ซากอเอี้ย ซำก่า ศาลเจ้ากวนอู เป็นต้น
อำเภอบ้านบึง ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกอย่าง คือ สิงโตหิน ซึ่งมีอยู่ 1 คู่ ตั้งอยู่เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ป้องกันสิ่งอัปมงคลที่จะเข้ามากล้ำกลาย ถือเป็นเจ้าพิทักษ์ที่สำคัญ ซึ่งได้รับความเคารพเชื่อถือตลอดมา
ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ และการพัฒนาของอำเภอบ้านบึง
อำเภอบ้านบึง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติและประสานการ
ปฏิบัติในการรักษาความสงบเรียบร้อย การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตลอดจนแก้ไขปัญหา การพัฒนา การให้บริการ การบริหารจัดการแบบบูรณาการในเขตอำเภอ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการการบริการที่ดีให้อำเภอบ้านบึงเป็นเมืองที่น่าอยู่ ประชาชนเชิดชูคุณธรรม จริยธรรม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนยุทธศาสตร์ของอำเภอบ้านบึงมีหลายด้าน ประกอบด้วย
1. ด้านความสงบเรียบร้อย
- รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิต และอำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชน
- จัดระเบียบสังคม และพัฒนาศีลธรรม จริยธรรม อันดีของประชาชน
- ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปราบปรามผู้มีอิทธิพล
2. ด้านการบริการประชาชน
- พัฒนาการบริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว(ONE STOP SERVICE) โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
- ลดขั้นตอนการทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาของแต่ละประเภทการบริการ
- กระจายอำนาจการตัดสินใจให้ผู้ปฏิบัติงาน
- ขยายเวลาให้บริการประชาชน
3. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
- บริหารการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองโดยสร้างเครือข่ายกองทุนที่ดี
- สร้างความเข้มแข็งของชุมชน
- สนับสนุนสินค้าตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
- พัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ด้วยวิธีเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรธรรมชาติ
- พัฒนาแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร
4. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต
- ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี เข้ามามีส่วนร่วมดูแลและจัดระบบบริการสุขภาพ โดยเน้นการสร้างสุขภาพ มากกว่าการซ่อมสุขภาพ
- ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหมู่บ้านปลอดยาเสพติด
5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและการบริหารจัดการ
- ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างจริงจังระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
ตั้งแต่ ถึง ชื่อ – สกุล
1 เม.ย. 2481 5 ก.ย. 2483 นายทองสุข ชมวงษ์
1 ต.ค. 2483 7 ก.ค. 2486 นายวิฑูร จักกะพาก
1 ก.ย. 2486 5 ธ.ค. 2488 นายชลิต มุตตามะระ
1 ม.ค. 2489 6 ก.พ. 2491 นายวิสุทธิ์ วิสูตรศักดิ์
1 มี.ค. 2491 17 มิ.ย. 2491 ร.ท.อาชว์ เครือมังกร
1 ก.ค. 2491 7 ต.ค. 2494 นายประสิทธิ์ สิงหนายก
7 ต.ค. 2494 16 ก.ค. 2497 ร.ต.ท.พงศ์ผจญ ฤทธิส
16 ก.ค. 2497 18 ต.ค. 2499 นายอยู่ สุรพลชัย
7 ธ.ค. 2499 28 ต.ค. 2502 นายชาญ กาญจนนาคพันธ์
28 ต.ค. 2502 18 เม.ย. 2505 นายปรีชา กาญจนานนท์
18 เม.ย. 2505 1 ต.ค. 2505 นายสมพร ธนสถิตย์
1 ต.ค. 2505 14 พ.ค. 2506 นายชูศักดิ์ โชติวรรณ
14 พ.ค. 2506 1 มิ.ย. 2506 นายวาทย์ เศวตนัย
1 มิ.ย. 2506 1 ต.ค. 2506 นายชูศักดิ์ โชติวรรณ
1 ต.ค. 2506 1 ก.พ.2507 นายวาทย์ เศวตนัย
1 ก.พ.2507 21 มี.ค. 2509 นายชูศักดิ์ โชติวรรณ
21 มี.ค. 2509 30 พ.ค. 2514 นายวาทย์ เศวตนัย
1 มิ.ย. 2514 31 ต.ค. 2516 นายชุ่ม ลาภอนันต์
1 พ.ย. 2516 27 ต.ค. 2521 ร.ต.พูลศักดิ์ สัตยานุรักษ์
28 ต.ค. 2521 15 มิ.ย. 2524 ร.อ.นิคม อัลภาชน์
17 มิ.ย. 2524 4 ต.ค. 2527 นายยุทธ สุนทรศารทูล
8 ต.ค. 2527 5 ต.ค. 2529 นายศิริวัฒน์ ผดุงกุล
6 ต.ค. 2529 16 ต.ค. 2531 นายอารยะ วิวัฒน์วานิช
17 ต.ค. 2531 15 ต.ค.2532 นายจเด็จ อินสว่าง
16 ต.ค. 2532 11 ต.ค. 2535 นายนเรศ จิตสุจริตวงศ์
12 ต.ค. 2535 31 ต.ค. 2538 นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์
1 พ.ย. 2538 30 ก.ย. 2541 นายสมทบ ศุภศรี
1 พ.ย. 2541 10 ธ.ค. 2544 นายบรรจบ รุ่งโรจน์
11 ธ.ค. 2544 25 ธ.ค 2549 นายปรีดา สมบูรณ์ทรัพย์
8 ม.ค. 2550 19 ต.ค. 2550 นายมงคล ธรรมกิติคุณ
24 ต.ค. 2550 30 ก.ย 2554 นายสุรินทร์ สรงสระแก้ว
13 ธ.ค. 2554 .................... นายสันติ เหล่าบุญเสงี่ยม
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
ผลิตภัณฑ์ OTOP อำเภอบ้านบึง ได้ขึ้นทะเบียนไว้ทั้งสิ้น 41 ผลิตภัณฑ์
แยกเป็นประเภทได้ดังนี้
1. ประเภทอาหาร ขึ้นทะเบียนรวม 20 ผลิตภัณฑ์
2. ประเภทเครื่องดื่ม ขึ้นทะเบียนรวม 4 ผลิตภัณฑ์
3. ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ขึ้นทะเบียนรวม 2 ผลิตภัณฑ์
4. ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก ขึ้นทะเบียนรวม 9 ผลิตภัณฑ์
5. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ขึ้นทะเบียนรวม 6 ผลิตภัณฑ์
รายชื่อผลิตภัณฑ์ OTOP ประจำปี 2549
ผลิตภัณฑ์ 5 ดาว ได้แก่
1. นมพลาสเจอร์ไรส์ โดย สหกรณ์โคนมบ้านบึง จำกัด
2. ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินไทย โดย กลุ่มสตรีอาสาพัฒนาชุมชน หมู่ 1 ตำบลหนองซ้ำซาก
3. เรือจำลองไม้สักทอง โดย กลุ่มงานหัตถศิลป์อำเภอบ้านบึง
ผลิตภัณฑ์ 4 ดาว ได้แก่
1. ขนมดอกจอกนมสดเรดบอน โดย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุ่งโปร่ง – มาบเอื้อง
2. กล้วยม้วนสมุนไพร โดย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุ่งโปร่ง – มาบเอื้อง
3. ทองม้วนไส้หมูหยอง โดย นางวีณา อติกานต์กุล
ผลิตภัณฑ์ 3 ดาว ได้แก่
1. ลูกชิ้นปลาตราปู๊ลูกชิ้นปลา โดย ร้านลูกชิ้นปลาจริยา กังวลกิจ
2. ชุดโต๊ะโลกกีฬา โดย เฟอร์นิเจอร์เด็ก (Little house) หจก.จตุมิตรพาราวู๊ด
3. แชมพูอำไพพรรณ โดย กลุ่มทำแชมพูสมุนไพรดอกอัญชัน (กลุ่มพัฒนาสตรีตำบลหนองชาก)
4. ยาบำรุงร่างกายตราสามโลก โดย บริษัทสันติอินฟินิตี้การค้าสมุนไพร จำกัด
ผลิตภัณฑ์ 2 ดาว ได้แก่
1. ไข่เค็ม โดย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
2. ทองม้วนกะทิ โดย กลุ่มแม่บ้านหนองปรือ
3. น้ำพริกแกงเผ็ด/แกงส้ม โดย กลุ่มสตรีหนองอิรุณ (กลุ่มสตรีบ้านหนองขนุน)
4. ขนมจีน “แม่กิมซัว” โดย นางจารุวรรณ ธัมมาวุทโธ
5. เต้าหู้ไข่ โดย นายภิญโญ เอื้อรักษ์โอฬาร
6. กาแฟสำเร็จรูปตรากุ๊กกิ๊ก โดย จ.ส.อ.เลิศศักดิ์ พุ่มจันทร์
7. NORTH PATTAYA (สุรากลั่น 2 ครัง 40 ดีกรี) โดย วิสาหกิจชุมชนมาบไผ่บริวเวอรี่(หจก.มาบไผ่ สุรากลั่นชุมชน)
8. น้ำว่านหางจรเข้ โดย บ.ฟู้ดแอนด์ดริ๊งส์ จำกัด
9. ผ้าทอมือ โดย กลุ่มสตรีบ้านท่าน้ำ
10. เสื้อลายดอก โดย กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า
11. ผลิตธงชาติ โดย กลุ่มผลิตธงชาติ
12. กรอบรูปวิทยาศาสตร์ โดย กลุ่มเยาวชนทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์
13. ตุ๊กตาเซรามิกออมสิน โดย นายพรชัย จันทบาล
14. เขียงไม้มะขาม โดย นายเจริญ ดิษฐ์สุวรรณ
ผลิตภัณฑ์ 1 ดาว ได้แก่
1. ข้าวกล้องหอมมะลิ โดย กลุ่มหนองอิรุณ
2. เค้กคุณแม่ โดย คุณแม่เบเกอรี่
3. กระหรี่พั๊พ โดย นายวีรพจน์ เหลืองอ่อน
4. โมจิ 9 ไส้ “คุณเสาวนิตย์” โดย นางสาวเสาวนิตย์ ชินิมาตร์มงคล
5. สุราบอนแดง โดย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองบอนแดง(ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง)
6. ขมิ้นขัดผิว โดย นางวรรณพร จันทวงศ์
การดำเนินงานต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดของอำเภอบ้านบึง
อำเภอบ้านบึงได้ดำเนินการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
โดยสรุปผลการดำเนินการในด้านต่างๆ ได้ดังนี้
ด้านการป้องกัน
ได้มอบหมายให้ผู้ประสานพลังแผ่นดินระดับหมู่บ้าน ชุมชน เป็น
แกนนำในการรักษาสภาพหมู่บ้าน ชุมชน เข้มแข็งเพื่อเอาชนะยาเสพติด ซึ่งอำเภอบ้านบึงมีจำนวน 52 หมู่บ้าน 41 ชุมชน พร้อมทั้งกับกระตุ้นและสร้างกระแส
การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
ได้ดำเนินการตามโครงการโรงงานสีขาว ปลอดยาเสพติดในพื้นที่
อำเภอบ้านบึง โดยการประชาสัมพันธ์เชิญชวนสถานประกอบการโรงงานที่อยู่ในพื้นที่เข้าร่วมโครงการ จัดส่งเจ้าหน้าที่ของอำเภอไปตรวจปัสสาวะให้กับพนักงาน
ในโรงงานต่างๆ เป็นประจำเพื่อตรวจหาสารเสพติด
ด้านการปราบปราม
ได้ทำการจับกุมผู้กระทำผิดคดียาเสพติดในพื้นที่อำเภอบานบึง
โดยสรุปตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 – กรกฎาคม 2549 ดังนี้
ข้อหา จำนวนผู้กระทำผิด/ราย จำนวนผู้ต้องหา/ราย
จำหน่าย 26 28
ครอบครอง 36 38
ครอบครองเพื่อจำหน่าย 8 10
เสพ 95 101
รวม 165 177
แนวโน้มของปัญหายาเสพติดในอำเภอบ้านบึง
จากสถิติการจับกุมผู้กระทำผิดคดีเกี่ยวกับยาเสพติดในช่วง เดือนตุลาคม 2548 – เดือนกรกฎาคม 2549 ได้มีการจับกุมผู้กระทำผิดมากกว่าปีที่ผ่านมา อำเภอพิจารณาแล้วเห็นว่า ยาเสพติดเริ่มมีการกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง
การดำเนินการของอำเภอบ้านบึง
ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบ ผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนในพื้นที่ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เร่งรัดและปราบปรามอย่างเข้มแข็ง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้า ผู้เสพ ตามสถานบริการต่างๆ ในโรงงาน ในสถานศึกษา
จะถูกตรวจตราอย่างเข้มงวด
ด้านสถานการณ์ปัจจุบัน
สถานการณ์ในพื้นที่ส่วนใหญ่ ปัญหาด้านยาเสพติดของอำเภอบ้านบึงจะมีเพียงบางชุมชนที่มีประชากรแฝงเข้ามาในพื้นที่ที่ยังคงมีปัญหาอยู่บ้าง แต่ก็อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ โดยมอบหมายให้หมู่บ้าน/ชุมชน ร่วมกันเฝ้าระวังปัญหาในพื้นที่
สรุปผลการดำเนินการแก้ปัญหาสังคมและความยากจน
เชิงบูรณาการ อำเภอบ้านบึง
-------------------------
การดำเนินการแก้ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการอำเภอบ้านบึง
ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายให้ดำเนินการแก้ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการจดทะเบียนความต้องการ/ปัญหาของประชาชน จำนวน 8 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย
1) ปัญหาที่ดินทำกิน
2) ปัญหาคนเร่ร่อน
3) ปัญหาผู้ประกอบอาชีพผิดกฎหมาย
4) การให้ความช่วยเหลือนักเรียน/นักศึกษาให้มีรายได้จากอาชีพที่เหมาะสม
5) ปัญหาการถูกหลอกลวง
6) ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน
7) ปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจน
8) ปัญหาอื่นๆ
อำเภอบ้านบึงได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. การจดทะเบียนปัญหาต่างๆ
อำเภอบ้านบึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ รับจดทะเบียนประชาชนผู้ประสบปัญหาจากกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2546 เป็นต้นมา มีผู้มาจดทะเบียนทั้งสิ้นจำนวน 6,901 ราย จำนวนปัญหาทั้งสิ้น 11,022 ปัญหา แยกเป็นปัญหามากที่สุด 3 อันดับ คือ
1) ปัญหาคนจนไม่มีที่อยู่อาศัย 3,872 ราย
2) ปัญหาที่ดินทำกิน 3,849 ราย และ
3) ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน 2,550 ราย
จำนวนผู้มาลงทะเบียน |
ที่ดินทำกิน |
คนเร่ร่อน |
ประกอบอาชีพผิดกฎหมาย |
นร./นศ.ต้องการทำงาน |
ถูกหลอก ลวง |
หนี้สิน ภาค ประชาชน |
คนจนไม่มี ที่อยู่ |
ยอดรวม ทั้งสิ้น |
ปัญหา อื่นๆ |
|
คน |
ปัญหา |
|||||||||
6,901 |
11,022 |
3,849 |
13 |
6 |
574 |
43 |
2,550 |
3,872 |
10,907 |
115 |
อำเภอบ้านบึงได้ดำเนินการตามแนวทางที่ ศตจ.,ศตจ.มท. และศตจ.ปค. กำหนดเรื่อยมาตามลำดับเริ่มตั้งแต่การเจรจาหนี้นอกระบบทั้งหมด (1,405 ราย) โดยคณะผู้เจรจาหนี้ และกลั่นกรองข้อมูล (Verify) ผู้จดทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจน โดยกระบวนการ คาราวานแก้จน ในพื้นที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ผลการดำเนินการจนถึงปัจจุบัน ปรากฏผลดังนี้
ข้อมูลจำนวนผู้จดทะเบียนที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ (Need)
2. การดำเนินการแก้ปัญหา
อำเภอบ้านบึงได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะ
ความยากจนระดับอำเภอ (ศตจ.อ.) พร้อมกันนี้ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนระดับอำเภอและศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนระดับอำเภอ/ ตำบล/หมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อทำหน้าที่พิจารณาแก้ไขปัญหา และดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในด้านต่างๆ มีผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาสำคัญๆ เร่งด่วน โดยสรุปได้ดังนี้
2.1 การแก้ไขปัญหาด้านที่ดินทำกิน
อำเภอบ้านบึงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาผู้จดทะเบียนด้านที่ดินทำกิน ดังนี้
1) สงเคราะห์ช่วยเหลือเบื้องต้น จัดหาเงินสงเคราะห์คนชรา
และคนพิการ โดยประสานกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2) จัดคาราวานแก้จนอำเภอในระดับตำบล
3) ศตจ.อ.บ้านบึงดำเนินการร่วมกับพัฒนาการอำเภอ
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จัดฝึกอบรมอาชีพ การกัดลายกระจก การทำผ้าบาติค การทำหัตถกรรมไม้ไผ่ การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ/ปุ๋ยชีวภาพ การทำสบู่มะขาม การทำดอกไม้ประดิษฐ์ การทำอาหาร-ขนมหวาน การทำน้ำยาล้างจาน
2.2 การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน
ได้ดำเนินการเจรจาหนี้นอกระบบ โดยจัดคณะเจรจาหนี้สินและบันทึกผลการเจรจาลงในแบบบันทึก น.2
2.3 การแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย
การเคหะแห่งชาติมีแผนงานโครงการดำเนินการโครงการ
บ้านเอื้ออาทรในพื้นที่อำเภอบ้านบึงจำนวนทั้งสิ้น 3 โครงการ
สำหรับปัญหาอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาคนเร่ร่อน ปัญหาการประกอบอาชีพผิดกฎหมาย ปัญหานักเรียน/นักศึกษาต้องการมีรายได้ และปัญหาการถูกหลอกลวง อำเภอบ้านบึง ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือเป็นที่เรียบร้อย
3. การดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนในปี พ.ศ. 2549
3.1 เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดสิ้นไปในปี 2551 โดยกำหนดให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนในปี 2549 ให้ได้ร้อยละ 40 ปี 2550 ร้อยละ 30 และปี 2551 ร้อยละ 30 อำเภอบ้านบึงได้เตรียมความพร้อม เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนให้เป็นไปตามเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น โดยให้คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนด้านต่างๆ ส่วนราชการ และอำเภอ จัดทำแผนงานโครงการแก้ไขความยากจน โดยให้กำหนดเป้าหมายลดจำนวนผู้ประสบปัญหาตามข้อมูลการ (Verify) ให้ได้ 40% เป็นอย่างต่ำ ขณะนี้อำเภอบ้านบึงได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 61.21 % โดยได้รับงบประมาณ ดังนี้
1) โครงการที่ใช้งบประมาณ ศตจ.ปค. เพื่อดำเนินการจัดคาราวานแก้จนในพื้นที่อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นเงินจำนวน 230,000 บาท 2) โครงการที่ใช้งบประมาณ ศตจ.มท. จำนวน 1 โครงการ เป็นเงินจำนวน 254,000 บาท ในการดำเนินงานตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (ศตจ.มท.) โดยดำเนินการฝึกอาชีพเสริมรายได้ - ลดรายจ่าย ครัวเรือนยากจน
3.2 การดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนคาราวานแก้จนระยะ 4 เดือน ( ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2549) โดยกระบวนการคาราวานแก้จนและตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการกรมการปกครอง
ดำเนินการแล้ว |
ตัวชี้วัด |
อยู่ระหว่างเร่งรัดดำเนินการ |
ตัวชี้วัด |
1. จัดตั้ง สนง.ศตจ.จ./อ./กิ่งอ. |
3.1,15 |
1. จัดทำ Website ของ ศตจ.จ./อ./กิ่งอ. |
13 |
2. แต่งตั้งคณะกรรมการ ศตจ.ระดับ เทศบาล/ตำบล/หมู่บ้าน/ชุมชน |
15 |
2. การจัดทำ Family Folder |
13 |
3. การช่วยเหลือกลุ่ม Need ตามเป้าหมาย (40% 30% 30%) |
15 |
3. การจัดทำ Family Plan |
3.1 |
4. ให้ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ/กิ่งอำเภอเป็นหน่วยงานหลักในการบังคับใช้กฎหมาย |
15 |
4. การจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับ ต./อ. |
15 |
5. สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาโดยยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
15 |
|
|
4. ปัญหาอุปสรรค/การแก่ไขปัญหา
สรุปปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการของอำเภอบ้านบึง ดังนี้
4.1 ปัญหาด้านที่ดินทำกิน
การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยจัดหาที่ดินทำกินทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งหากเป็นที่ดินของภาครัฐมีระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก และส่วนใหญ่มีราษฎรถือครองทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนแล้ว
เป็นอุปสรรคต่อการให้ความช่วยเหลือผู้จดทะเบียน หากเป็นที่ดินของภาคเอกชนจะต้องใช้งบประมาณสูงในการจัดหา
รัฐบาลควรพิจารณา แก้ไขปัญหาที่ดินในความดูแลของภาครัฐเป็นหลัก
4.2 ปัญหาด้านหนี้สินภาคประชาชน
กรณีหนี้นอกระบบการเจรจาหนี้ยุติ เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงโอนหนี้สินเข้าสู่ระบบธนาคารส่วนใหญ่ธนาคารปฏิเสธไม่ให้สินเชื่อเนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือลูกหนี้เป็นผู้ไม่มีรายได้ที่แน่นอน และผู้จดทะเบียนบางรายไม่ไปพบเจ้าหน้าที่โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีเวลา หยุดงานไม่ได้ ฯลฯ
สถาบันการเงินควรพิจารณาลดหย่อนหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ เพื่อสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ผู้จดทะเบียนได้อย่างจริงจัง
4.3 ปัญหาคนจนไม่มีที่อยู่อาศัย
การแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยของคนจนยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามความต้องการของผู้จดทะเบียน เนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และมีหน่วยงานการเคหะแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจเกี่ยวข้องและมีศักยภาพเป็นหลักในการแก้ปัญหาเพียงหน่วยเดียว ประกอบกับที่ดินในเมืองมีราคาแพงจนทำให้ภาคเอกชนที่จะเข้าร่วมโครงการไม่สามารถรับเงื่อนไขของการเคหะแห่งชาติได้
รัฐบาลควรสั่งการหรือเน้นย้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้ามามีบทบาทร่วมแก้ไขปัญหาโดยในระยะแรกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพด้านงบประมาณจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรช่วยเหลือผู้จดทะเบียนอีกทางหนึ่ง
4. นายกฤษณะ อยู่สุข ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง 7ว) เป็นหัวหน้าฝ่ายอำนวยความเป็นธรรม
คำขวัญอำเภอบ้านบึง
“ บ้านบึงสะอาดสดชื่น
คนนับหมื่นกินเจ
ประเพณีวิ่งควาย
เซียนซือไท้ศักดิ์สิทธิ์
ลือทั่วทิศขนมจีน”